แพ็กเกจ LASIK

฿ 35,900฿ 90,000

ต้องพบแพทย์เพื่อพิจารณาการเข้ารับบริการ ทางการแพทย์ก่อน

อ่านรายละเอียดได้ที่นี่ ศูนย์เลสิค

ศูนย์เลสิคพระรามเก้า เปิดบริการทุกวัน 08.00-16.00 น. ที่อาคาร B ชั้น 9 โรงพยาบาลพระรามเก้า
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ โทร. 1270

“ไม่เสียใจเลยที่ตัดสินใจทำเลสิค” ถ้าคุณเคยได้ยินจากคนอื่น เราอยากให้คุณได้สัมผัสด้วยตาของคุณเอง ด้วยเทคโนโลยีทันสมัยที่เหมาะสมกับคุณ

หากคุณเป็นหนึ่งคน ที่สายตาผิดปกติ ไม่ว่าจะ สั้น ยาว เอียง หรือสายตาสั้นด้วยและสายตายาวตามวัยด้วย ต้องวุ่นวายกับการสวมใส่แว่นสายตาหรือคอนแทคเลนส์ หรือมีข้อจำกัดในสายงานบางประเภท และต้องการปรับเปลี่ยนบุคลิกภาพให้ดูดีขึ้น

“เลสิค” คือคำตอบที่จะช่วยให้คุณก้าวสู่การใช้ชีวิตที่อิสระมากขึ้น!

เลสิค คืออะไร

การทำเลสิค (Lasik) คือ ชื่อเรียกโดยรวมของการปรับค่าสายตาด้วยการยิงเลเซอร์ที่กระจกตา คำว่า LASIK ย่อมาจาก Laser In Situ Keratomileusis เปรียบได้กับการเจียระไนกระจกตาให้ได้ความโค้งที่ต้องการเพื่อปรับให้ภาพคมชัด สามารถแก้ไขสายตาผิดปกติ ได้แก่ สายตาสั้น สายตายาว สายตาเอียงโดยกำเนิด โดยมุ่งเน้นการแก้ไขที่กระจกตาเป็นหลัก

เลสิค มีกี่แบบ?

การทำเลสิคที่นิยมในปัจจุบัน มีอยู่ 4 แบบ คือ

  1. PRK (Photorefractive Keratectomy) การปรับแก้ไขสายตาโดยไม่เปิดฝากระจกตา
  2. เลสิคใบมีด (LASIK) การแก้ไขสายตาโดยเปิดฝากระจกตา
  3. เฟมโตเลสิค (FemtoLASIK) การปรับแก้ไขสายตาโดยเปิดฝากระจกตา ด้วย Femtosecond Laser
  4. เลสิคแบบไร้ใบมีด (ReLEx SMILE) การปรับแก้สายตาโดยเปิดแผลเล็ก

โดยแต่ละแบบนั้น มีจุดเด่นและข้อจำกัดที่แตกต่างกันไป การตรวจสภาพตาอย่างละเอียด ก่อนเลือกประเภทของการปรับค่าสายตาจึงเป็นเรื่องสำคัญมาก คนไข้จึงควรปรึกษาแพทย์ผู้ชำนาญการ เพื่อการเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมกับคนไข้ที่สุด

ใครทำเลสิคได้บ้าง ?

  • อายุ 18 ปีขึ้นไป
  • มีสายตาคงที่ เปลี่ยนแปลงได้ไม่เกิน 50 (0.5D) เป็นเวลาอย่างน้อย 1 ปี ซึ่งจะช่วยลดโอกาสสายตากลับมาสั้นหรือเอียงเพิ่มได้
  • ไม่อยู่ระหว่างการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร ให้รอประจำเดือนกลับมาแล้วอย่างน้อย 2 รอบ
  • ต้องไม่มีโรคของกระจกตาและโรคตาอย่างอื่นที่รุนแรง เช่น จอประสาทตาเสื่อม ตาแห้งอย่างรุนแรง หรือโรคทางร่างกายที่มีผลต่อการหายของแผล เช่น โรคเบาหวาน SLE เป็นต้น ซึ่งควรแก้ไขให้เรียบร้อยก่อน เพื่อประสิทธิภาพสูงสุดของการรักษาด้วยเลสิค
  • ลักษณะกระจกตาคนไข้หนาหรือแข็งแรงไม่เพียงพอ

ศูนย์เลสิคพระรามเก้า

ศูนย์เลสิคพระรามเก้า จัดตั้งขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์ความต้องการ ของผู้ที่มีปัญหาด้านสายตาในทุกรูปแบบ

เลสิคที่โรงพยาบาลพระรามเก้า

  1. สถานที่ให้บริการสะอาด และได้รับการรับรองตามมาตรฐานกระทรวงสาธารณสุข เพื่อความปลอดภัยสูงสุดของผู้ป่วย
  2. จักษุแพทย์เฉพาะทางด้านกระจกตา และการผ่าตัดแก้ไขสายตาผิดปกติ มีประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วย
  3. ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยจากประเทศเยอรมนีมาใช้ในการรักษา ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่รักษาสายตาได้ครบทุกมิติ
  4. ให้บริการการทำเลสิคครบทั้ง 4 รูปแบบ  ทั้ง PRK,LASIK,FemtoLASIK,ReLEx SMILE และการผ่าตัดเลนส์เสริม (ICL) ทำให้แพทย์สามารถเลือกสิ่งที่ดีที่สุดให้แก่ผู้ป่วยได้
  5. สามารถดูแลผู้ป่วยได้อย่างครบวงจร เช่น หากผู้ป่วยมีตัวโรคเกี่ยวกับตา เช่น ตาแดง ตาแห้งรุนแรง หรือมีต้อกระจก ต้อหินร่วมด้วย ก็สามารถรักษาต่อเนื่องได้เลย
  6. นอกจากแพทย์แล้ว ทีมเจ้าหน้าที่มีประสบการณ์ในด้านการดูแลผู้ป่วยเลสิค จะสามารถให้คำแนะนำปรึกษาได้อย่างละเอียดและครบถ้วน

อ่านรายละเอียดได้ที่นี่ https://lhco.li/3TIzoCL

ศูนย์เลสิคพระรามเก้า เปิดบริการทุกวัน 08.00-16.00 น. ที่อาคาร B ชั้น 9 โรงพยาบาลพระรามเก้า
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ โทร. 1270

เตรียมตัวก่อนมาทำเลสิค

ปรึกษาแพทย์ เพื่อวางแผนแนวทางการรักษา

การปรึกษาแพทย์ เพื่อตรวจประเมินเบื้องต้น ว่าสามารถรักษาด้วยเลสิคได้หรือไม่? และควรใช้เทคนิคการเลสิคแบบไหน? แนะนำว่าควรปรึกษาแพทย์ในสถาบันที่รองรับการทำเลสิคได้หลากหลาย เพื่อประโยชน์สูงสุดในการเลือกวิธีรักษาของตัวเราเอง เพราะถ้ามีทางเลือกน้อย อาจได้เทคนิคการรักษาที่ไม่ค่อยเหมาะสมกับเรา

ในขั้นตอนนี้ เราต้องเดินทางเข้าไปพบแพทย์เพื่อตรวจประเมินอย่างละเอียดด้วย สามารถโทรสอบถามจากโรงพยาบาลหรือศูนย์เลสิค

โดยเบื้องต้นมีขั้นตอนเตรียมตัว ดังนี้

  1. กรณีอายุไม่ถึง 20 ปีบริบูรณ์ ต้องมีผู้ปกครองมาด้วย
  2. หากใช้คอนแทคเลนส์ชนิดนิ่ม ให้ถอดคอนแทคเลนส์ออกก่อน อย่างน้อย 3 วัน หากเป็นคอนแทคเลนส์ชนิดแข็ง ให้ถอดอย่างน้อย 7 วัน เพราะจะช่วยให้แพทย์ตรวจวัดค่าสายตาได้อย่างแม่นยำขึ้น และทำให้ผลการรักษามีประสิทธิภาพมากขึ้น
  3. งดใช้ยารักษาสิว อย่างน้อย 1 เดือน (ทั้งก่อนตรวจสภาพตา และก่อนผ่าตัด) เพราะเป็นยาที่ส่งผลต่อเยื่อบุและผิวกระจกตา อาจทำให้การวัดประเมินดวงตามีความคลาดเคลื่อน นอกจากนี้ ถ้าใช้ยาประจำอยู่ ต้องแจ้งให้จักษุแพทย์ทราบ
  4. วันที่มาตรวจประเมินสายตา อาจต้องมีการหยอดยาเพื่อขยายม่านตาด้วย ซึ่งจะทำให้ตาสู้แสงไม่ได้ และเกิดอาการพร่ามัวชั่วคราว จึงควรเตรียมแว่นกันแดดไว้ และพาเพื่อนหรือญาติมาด้วยเพื่อคอยดูแล

วันตรวจประเมิน จักษุแพทย์จะใช้ยาหยอดขยายม่านตาเพื่อวัดสายตาโดยละเอียด ได้แก่ ตรวจวัดการมองเห็น วัดความดันลูกตา ตรวจสภาพจอประสาทตา ตรวจวัดความโค้งกระจกตาส่วนหน้าและส่วนหลัง ตรวจวัดความหนาของกระจกตา

จักษุแพทย์จะประเมินจากคุณสมบัติต่าง ๆ ของคนไข้ว่า มีค่าสายตาสั้น ยาว หรือเอียงเท่าไหร่? สายตาคงที่แล้วหรือยัง? นอกจากนี้ จะประเมินอายุ โรคประจำตัว ทั้งที่เกี่ยวข้องและไม่เกี่ยวข้องกับดวงตา ยาที่ใช้ประจำ (หรือใช้อยู่ในปัจจุบัน) ลักษณะการดำเนินชีวิต เพื่อพิจารณาความจำเป็นด้านระยะเวลาพักฟื้น เป็นต้น

หลังจากนั้นจะประเมินและวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้เพื่อสรุปผลแล้วให้คำแนะนำ พร้อมแผนการรักษากับคนไข้อีกครั้งหนึ่ง

การดูแลตัวเอง หลังการทำเลสิค

เพื่อป้องกันดวงตาจากการติดเชื้อ รวมถึงลดความเสี่ยงอื่น ๆ ซึ่งอาจมีผลให้การทำเลสิคไม่ได้ประสิทธิภาพเท่าที่ควร จึงมีข้อควรปฏิบัติ ดังนี้

วันแรก หลังการทำเลสิค

สวมฝาครอบตา : คนไข้ต้องสวมฝาครอบตาตลอดเวลา ห้ามแกะฝาครอบเด็กขาด โดยสามารถมองผ่านรูเล็ก ๆ ของฝาครอบตาได้เท่านั้น

ซับน้ำตารอบ ๆ ฝาครอบตา: ในช่วงนี้ คนไข้อาจมีอาการเคืองตา คล้ายมีเศษผงอยู่ในตา บางคนอาจน้ำตาไหลออกมา ให้ซับออกได้เฉพาะน้ำตานอกฝาครอบตาเท่านั้น ห้ามแยงนิ้วเข้าไปซับน้ำตาในที่ครอบตา

นอนพักสั้น ๆ หลังการผ่าตัด : ควรนอนหลับสั้น ๆ (กรณีรักษาช่วงกลางวัน) หรือนอนหลับแต่หัวค่ำ (กรณีรักษาช่วงเย็น) ช่วงวันแรก ๆ ควรพักสายตาให้มากที่สุด

หากมีอาการปวดตา: สามารถกินยาแก้ปวดได้ ซึ่งถ้าเป็นมาก ควรแจ้งให้จักษุแพทย์ทราบในวันนัดติดตามผล

ทำกิจกรรมต่าง ๆ เท่าที่จำเป็น : คนไข้ควรงดกิจกรรมอื่น ๆ ที่ไม่จำเป็น แต่สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ด้วยความระมัดระวัง ห้ามน้ำเข้าตาเด็ดขาด แต่สามารถอาบน้ำและแปรงฟันได้

ข้อปฏิบัติทั่วไป หลังทำเลสิค

เพื่อให้การรักษาได้ผลดีที่สุด คนไข้ควรปฏิบัติดังนี้

  1. เข้าพบจักษุแพทย์ตามนัดทุกครั้ง เพื่อติดตามผลการรักษาอย่างต่อเนื่อง และตรวจเช็คอาการผิดปกติหรือภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ปกติแล้วจักษุแพทย์จะแจ้งเวลานัดให้กับคนไข้อย่างชัดเจนอยู่แล้ว โดยจะแบ่งเป็นการนัดระยะสั้น เช่น หลังผ่าตัด 1 วัน หรือ 1 สัปดาห์ ไปจนถึงการนัดระยะยาว เช่น 3 เดือน หรือ 6 เดือน
  2. หยอดยาปฏิชีวนะที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด ป้องกันการติดเชื้อ และสามารถหยอดน้ำตาเทียมได้บ่อยตามต้องการ
  3. ห้ามให้น้ำหรือฝุ่นเข้าตาโดยเด็ดขาด เพื่อป้องกันการติดเชื้อ หากต้องการทำความสะอาดใบหน้าให้ใช้ผ้าหมาด ๆ เช็ดหน้าแทน ส่วนการสระผม ควรให้ผู้อื่นสระให้
  4. ห้ามขยี้ตา การขยี้ยาเป็นเรื่องที่พลั้งเผลอกันง่ายมาก จึงไม่ควรเปิดฝาครอบตาออกหากไม่จำเป็น และต้องใส่ไว้ตลอดแม้แต่ตอนนอน เพราะจะช่วยป้องกันการเผลอขยี้ตาได้
  5. งดการแต่งหน้าบริเวณรอบดวงตา อย่างน้อย 1 สัปดาห์ ลดโอกาสระคายเคืองต่อดวงตา
  6. สวมแว่นตากันแดด เพื่อป้องกันแสงแดดและลมเข้าตาเมื่ออยู่ในที่มีแสงจ้า ลดความไม่สบายตา หรืออาการตาแห้งได้
  7. ใช้สายตาได้บ้าง แต่ควรหยุดพักสายตาบ่อย ๆ เนื่องจากช่วงนี้สายตายังปรับตัวได้ไม่เต็มที่ อาจทำให้เกิดอาการเมื่อยตาหรือล้าตาได้ง่าย
  8. งดกิจกรรมทุกชนิดที่ทำให้เหงื่อออก เช่น ออกกำลังกาย เล่นกีฬา หรือทำงานบ้าน เป็นเวลา 1 สัปดาห์
  9. งดกิจกรรมทางน้ำ ได้แก่ งดว่ายน้ำ 1 เดือน  และงดกิจกรรมดำน้ำ 3 เดือน นับจากวันผ่าตัด

หมายเหตุ :

  • ราคานี้ครอบคลุมค่าผ่าตัดรักษาสายตา แบบ 2 ข้าง
  • พร้อมตรวจประเมินสภาพตาก่อนผ่าตัด
  • รวมค่ายากลับบ้าน และค่าตรวจติดตาม จำนวน 5 ครั้ง

นัดหมายแพทย์หรือสอบถามรายละเอียด

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง